หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล โพธิ์ชัย ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
 
หน้าหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ชัย
'''ตำบลน่าอยู่ คู่กับการศึกษาดี
ประชามีสุขภาพอนามัยใฝ่ใจโครงสร้างพื้นฐาน
บริหารงานโดยหลักธรรมาภิบาล''

นายสมศักดิ์ ปิยะชน
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ชัย'
วิสัยทัศน์ อบต.โพธิ์ชัย
อบต.โพธิ์ชัย ให้ความสำคัญกับการศึกษา
ของเยาวชนในตำบลอย่างทั่วถึง
สถานีอนามัยตำบลโพธิ์ชัย
ตำบลโพธิ์ชัย แหล่งรวมศาสนสถาน
อันเป็นที่ศรัทธาของประชาชนในตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบล
โพธิ์ชัย
อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
1
2
3
4
5
 
...ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ อบต.โพธิ์ชัย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
 
 
 


 
ขั้นตอนทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารต่างๆ ช่วยลดขยะในบ้าน  
 

ในครัวเรือนและร้านอาหารมักมีเศษอาหารเหลือทิ้งจากการบริโภคและจำหน่ายมากมาย
ในแต่ละวัน วิธีจัดการขยะที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้ก็คือรวบรวมเก็บใส่ถุงไว้แล้วรอรถขยะของเทศบาลมาขนทิ้ง บ้างก็มาเก็บทุกวัน บ้างมาแค่สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ปริมาณขยะจึงเพิ่มเติมสะสมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะถ้าจัดการเก็บไม่เรียบร้อย ยิ่งทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเป็นที่รำคาญใจ สุดท้ายก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเพื่อเป็นการลดมลพิษจึงเชิญชวนประชาชน นำเศษอาหารเหลือทิ้งนำมาหมักทำปุ๋ย โดยมีวิธีทำ ดังนี้

การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารมีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ
1.เศษอาหาร เช่น เศษข้าว เศษผัก เปลือกผลไม้ เปลือกไข่ ก้างปลา เศษหมู ขนมปัง ฯลฯ ที่เหลือจากการบริโภค ไม่ว่าจะเป็นครัวเรือน ร้านอาหาร โรงอาหาร หรือโรงครัว เมื่อนำมาทำปุ๋ยหมักจะใช้เฉพาะส่วนที่เป็นกาก จึงต้องแยกน้ำที่อยู่ในเศษอาหารออกก่อน หากเศษอาหารมีขนาดใหญ่ก็สับให้มีขนาดเล็กลง
2.จุลินทรีย์ ควรเป็นประเภทที่ใช้ออกซิเจน จะช่วยให้ไม่ส่งกลิ่นเหม็นและไม่ทำให้เกิดน้ำเสีย แหล่งจุลินทรีย์ที่หาได้ง่ายคือมูลสัตว์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น มูลวัว มูลไก่ มูลหมู มูลม้า มูลแพะ ซึ่งมีจุลินทรีย์หลายประเภทและจำนวนมาก เช่น เชื้อราแอคติโนมัยซีตส์ (Actinomycetes) ช่วยให้กระบวนการย่อยสลายเศษอาหารกลายเป็นปุ๋ยหมักได้เร็วขึ้น
3.เศษใบไม้ ช่วยให้เศษอาหารมีความโปร่งพรุน ไม่อัดแน่นจนเกินไป ทั้งยังมีธาตุคาร์บอนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ของจุลินทรีย์
เมื่อเตรียมส่วนประกอบพร้อมแล้ว ก็มาทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารกัน
ปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในถังพลาสติก
1.เตรียมถังหมักพลาสติกพร้อมฝาปิดขนาด 20 ลิตร โดยใช้เหล็กร้อน ๆ เจาะรูรอบถังเพื่อใช้เป็นช่องระบายอากาศ แล้วพันด้วยตาข่ายเพื่อป้องกันแมลงวันมาวางไข่และสร้างความรำคาญ
2.ใส่เศษอาหาร มูลสัตว์ และเศษใบไม้ อย่างละ 1 ส่วนลงในถัง ผสมคลุกเคล้าให้ทั่วแล้วปิดฝา ระยะแรกไม่ต้องเติมน้ำเนื่องจากเศษอาหารมีความชื้นสูง หากวันถัดไปมีเศษอาหารอีกก็ผสมมูลสัตว์และเศษใบไม้ในอัตราส่วนเดิม ใส่ลงในถังได้อีก
3.ใช้ไม้คนส่วนผสมให้คลุกเคล้ากันทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง ในช่วง 3-10 วันแรกอาจมีความร้อนเกิดขึ้น เนื่องจากจุลินทรีย์คายความร้อนออกมาเพื่อทำปฏิกิริยาย่อยสลาย หากความชื้นลดลงเกือบแห้ง ควรพรมน้ำเพิ่ม
4.ใช้เวลาประมาณ 30 วัน จะได้ปุ๋ยหมักในปริมาตรที่ลดลงร้อยละ 40 หากปุ๋ยยังมีความชื้นอยู่ ควรงดพรมน้ำและปล่อยให้แห้งสนิท เพื่อให้จุลินทรีย์หยุดการย่อยสลาย ปุ๋ยหมักที่ได้จะมีสีดำคล้ำ เปื่อยยุ่ย มีขนาดเล็กลง น้ำหนักเบา และไม่มีกลิ่นเหม็น

 

ข่าว ณ. วันที่ 7 ก.ย. 2564 เวลา 11.51 น. โดย คุณ อัญชลี สุกใส

ผู้เข้าชม 133 ท่าน

 
 
 
รับเรื่องร้องเรียน-ร้องทุกข์
โทร 086-131-1345
จำนวนผู้เข้าชม 9,455,516 เริ่มนับ 8 ก.ย. 2553 จัดทำโดย NAXsolution.com
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10